เกี่ยวกับสหประชาชาติในไทย
ถาม - ตอบ
คำถาม - คำตอบ
ระบบสหประชาชาติในไทยดำเนินงานอย่างไร
เนื่องจากกรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคของสหประชาชาติในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ระบบสหประชาชาติในไทยมีขนาดใหญ่และความซับซ้อนเป็นพิเศษ ประชาคมของหน่วยงานสหประชาชาติครอบคลุมหน่วยงานที่ไม่ได้ให้บริการเฉพาะไทยเท่านั้น ความจริงโครงการสหประชาชาติสำหรับไทยมีขอบเขตที่ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากไทยเป็นประเทศกลุ่มรายได้ปานกลางที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ถึงกระนั้น โครงการสหประชาชาติที่มีไทยเป็นพันธมิตรสำคัญก็มีขอบข่ายที่กว้างไกล
ปัจจุบันระบบสหประชาชาติในไทยประกอบด้วยสำนักงานของ 28 หน่วยงาน ในจำนวนนี้ รวมธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียและองค์การสากลเพื่อการย้ายถิ่น (IOM) ด้วย ในเชิงเทคนิคแล้ว ทั้งสององค์กรไม่ใช่หน่วยงานของสหประชาชาติ แต่ก็มีความคล้ายคลึงกับสหประชาชาติมากจนได้รับการปฏิบัติประหนึ่งเป็นหน่วยงานสหประชาชาติเพื่อสนองจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติงานเป็นส่วนใหญ่ ในจำนวนนี้ 23 หน่วยงานมีภารกิจที่เน้นไทยโดยเฉพาะหรือเพียงบางส่วน ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ มีเพียงอาณัติระดับภูมิภาคเท่านั้น
ผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศทำอะไร
ระบบผู้ประสานงานประจำประเทศเริ่มมีผลบังคับใช้ให้เป็นส่วนสำคัญของการปรับโครงสร้างภาคเศรษฐกิจและสังคมของระบบสหประชาชาติ ซึ่งได้รับการริเริ่มโดยมติการประชุมสมัชชาใหญ่ (General Assembly - GA) ที่ 32/197 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2520 ในมตินั้น สมัชชาใหญ่ตัดสินใจในนามของระบบสหประชาชาติว่า ความรับผิดชอบทั้งปวงสำหรับและการประสานงานของกิจกรรมการปฏิบัติงานพัฒนาในระดับประเทศควรมอบหมายให้เจ้าหน้าที่คนเดียวรับผิดชอบ ซึ่งบุคคลนี้จะแสดงบทบาทเป็นผู้นำทีมและเสริมมุมมองเชิงสหวิชาการในโครงการพัฒนาภาคส่วนต่างๆ
ผู้ประสานงานประจำประเทศเป็นตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติให้ดูแลการปฏิบัติงานพัฒนาและทำหน้าที่เป็นผู้นำของทีมประเทศของสหประชาชาติ ผู้ประสานงานประจำประเทศรายงานตรงกับเลขาธิการใหญ่ผ่านผู้บริหาร UNDP ซึ่งได้รับอาณัติจากเลขาธิการใหญ่ให้รับผิดชอบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพของระบบผู้ประสานงานประจำประเทศ และจากคณะกรรมการบริหาร UNDP ให้รับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณของ UNDP เพื่อสนับสนุนระบบผู้ประสานงานประจำประเทศ ผู้บริหาร UNDP มีหน้าที่ให้คำแนะนำกับเลขาธิการใหญ่เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ประสานงานประจำประเทศ
สำนักงานผู้ประสานงานองค์การสหประชาชาติคืออะไร
สำนักงานผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศไทย ประกอบด้วยผู้จัดการและทีมงานที่เป็นพนักงานประจำ และให้การสนับสนุนที่จำเป็นแก่สำนักเลขาธิการเพื่อบริหารความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระบบสหประชาชาติ ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากหน่วยงานสหประชาชาติที่เข้าร่วม และมีความรับผิดชอบต่อหน่วยงานเหล่านี้ในภาพรวม
กิจกรรมระหว่างหน่วยงานมีอะไรบ้าง
มีหน่วยงานสหประชาชาติในไทยรวมทั้งสิ้น 24 หน่วยงานที่ติดตามการประชุมและปฏิญญาระดับโลก หน่วยงานเหล่านี้ร่วมมือกันในโครงการระหว่างหน่วยงานหลายโครงการ กิจกรรมอื่นของระบบสหประชาชาติสำหรับส่วนรวมประกอบด้วยสิ่งพิมพ์ เช่น การประเมินสถานการณ์ทั่วไปของประเทศร่วมกัน (CCA) กรอบความช่วยเหลือการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDAF) ในไทย มีการตกลงใจให้เรียก UNDAF ว่ากรอบภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Partnership Framework - UNPAF) เพื่อสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างสหประชาชาติและไทย
ความสำเร็จร่วมกันเหล่านี้เกิดขึ้นได้เพราะมีเวทีความร่วมมือ เช่น การประชุมหัวหน้าหน่วยงานของสหประชาชาติและทีมประเทศของสหประชาชาติ รวมทั้งการประชุมของคณะทำงานเฉพาะเรื่องอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนั้น หน่วยงานเหล่านี้ยังได้รับการสนับสนุนจากผู้ประสานงานสหประชาชาติประจำประเทศและหน่วยสนับสนุนความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน คลิกที่นี่เพื่อไปที่ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับกลไกการประสานความร่วมมือของสหประชาชาติในไทย
การประเมินสถานการณ์ทั่วไปของประเทศร่วมกัน (CCA) คืออะไร
ในเดือนกรกฎาคม 2540 เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ นายโคฟี อันนัน ริเริ่มโครงการปฏิรูปหลากหลายด้านสำหรับสหประชาชาติ การปฏิรูปเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเป็นผู้นำองค์กรและวัฒนธรรมการบริหารจัดการแบบใหม่ในสหประชาชาติ การประเมินสถานการณ์ทั่วไปของประเทศร่วมกัน (Common Country Assessment - CCA) และกรอบความช่วยเหลือการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UN Development Assistance Framework - UNDAF) ถูกนำมาเสริมสร้างความเข้มแข็งของการบูรณาการและประสิทธิผลของการช่วยเหลือของระบบสหประชาชาติในการดำเนินการพัฒนาของประเทศ
CCA ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของวาระการปฏิรูปสหประชาชาติของเลขาธิการใหญ่ เป็นการประเมินอย่างอิสระโดยระบบสหประชาชาติเกี่ยวกับสถานการณ์การพัฒนาและประเด็นการพัฒนาที่สำคัญอย่างยิ่งยวดของประเทศ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวโยงกับปฏิญญา เป้าหมาย และแผนปฏิบัติงานที่ผ่านความเห็นชอบในการประชุมระดับโลกที่จัดขึ้นโดยสหประชาชาติในช่วงทศวรรษ 1990 ดังนั้น CCA ของไทยจึงเกิดขึ้นภายหลังจากการพิจารณาระดับความสำเร็จที่ประเทศบรรลุได้เทียบกับเป้าหมายที่ระบุอยู่ในวาระระดับโลกของสหประชาชาติ
กรอบความช่วยเหลือการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDAF) คืออะไร
ในเดือนกรกฎาคม 2540 เลขาธิการสหประชาชาติ นายโคฟี อันนัน ริเริ่มโครงการปฏิรูปหลากหลายด้านสำหรับสหประชาชาติ การปฏิรูปเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภาวะผู้นำและวัฒนธรรมการบริหารแบบใหม่ที่สหประชาชาติ การประเมินประเทศร่วมกัน (Common Country Assessment - CCA) และกรอบความช่วยเหลือการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UN Development Assistance Framework - UNDAF) ถูกนำมาเสริมสร้างความเข้มแข็งของการบูรณาการและประสิทธิผลของการช่วยเหลือของระบบสหประชาชาติต่อการดำเนินการพัฒนาของประเทศ
UNDAF ซึ่งเป็นกรอบการวางแผนสำหรับการปฏิบัติงานการพัฒนาของระบบสหประชาชาติในระดับประเทศ บ่งชี้วัตถุประสงค์ร่วมและกลยุทธ์ร่วมของความช่วยเหลือในการพัฒนา และกรอบเวลาสำหรับกิจกรรมติดตามผลที่เห็นชอบร่วมกันโดยหน่วยงานสหประชาชาติประจำประเทศทั้งหมด ดังนั้น UNDAF สามารถปรับแนวทางแบบองค์รวมของสหประชาชาติให้สอดคล้องกับความท้าทายของประเทศได้ ด้วยการเปลี่ยนจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริจาค-ผู้รับแบบดั้งเดิม ทีมสหประชาชาติประจำประเทศไทยเข้าไปมีส่วนในการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะความชำนาญระหว่างกัน เพื่อสะท้อนแนวทางยุทธศาสตร์ใหม่นี้ เอกสารนี้จึงเปลี่ยนจากชื่อเดิม กรอบความช่วยเหลือการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UN Development Assistance Framework - UNDAF) เป็นกรอบภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Partnership Framework - UNPAF)
มีประเด็นไหนบ้างที่สหประชาชาติระบุว่าเร่งด่วนที่สุดสำหรับไทย
มีประชากรหลายกลุ่มในไทยที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยทั่วมีความเป็นอยู่ ความปลอดภัย และสุขอนามัยที่เปราะบางมากกลุ่มอื่น กลุ่มเหล่านี้ประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยที่อาศัยบนภูเขา พวกย้ายถิ่น พวกพลัดถิ่น รวมทั้งคนชราและคนพิการ ปัจจุบันพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่คัดเลือกบางแห่งไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างเพียงพอ เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจังหวัดชายแดนอื่นๆ การกระจายความช่วยเหลือให้ทั่วถึงเป็นประเด็นสำคัญของสหประชาชาติในไทย
ภายใต้คำขวัญ "กินดีอยู่ดี พอเพียง และเท่าเทียม" กรอบความร่วมมือพันธมิตรแห่งสหประชาชาติกับประเทศไทย พ.ศ. 2550-2554 จะมุ่งเน้นมิติความร่วมมือห้าประการ ได้แก่ การเข้าถึงการบริการสังคมที่มีคุณภาพและการคุ้มครองทางสังคม, การกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลระดับจังหวัด/ท้องถิ่น, การเข้าถึงการป้องกัน การรักษา และการดูแลและการสนับสนุนผู้ป่วยเอชไอวีที่ครบถ้วน, การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และความร่วมมือกันระหว่างพันธมิตรทั่วโลกเพื่อการพัฒนา - ความช่วยเหลือของไทย
สหประชาชาติร่วมมือกับรัฐบาลไทยอย่างไร
โครงการสหประชาชาติสำหรับไทยมีขอบเขตที่ค่อนข้างจำกัดในแง่เงินทุนและการปฏิบัติงาน เนื่องจากไทยเป็นประเทศรายได้ระดับปานกลางที่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม โครงการสหประชาชาติที่ไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรที่สำคัญมีขอบข่ายกว้างไกล มีโครงการระหว่างประเทศของสหประชาชาติที่ไทยเข้าร่วมเป็นพันธมิตรที่สำคัญจำนวนมากในด้านต่างๆ เช่น การค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก เอชไอวี/เอดส์ และสิ่งแวดล้อม ราว 2-3 ปีที่ผ่านมา ไทยได้ขยายขอบเขตความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับสหประชาชาติผ่านการมีส่วนร่วมในการรักษาสันติภาพและการพัฒนาในภูมิภาคนี้ เช่น ติมอร์ตะวันออก
ในฐานะประเทศรายได้ระดับปานกลาง ไทยเข้าร่วมในโครงการความร่วมมือการพัฒนาภูมิภาคใต้-ใต้ และให้ความร่วมมือทางด้านวิชาการและเงินทุนกับประเทศอื่นในภูมิภาคและส่วนอื่นของโลก
ผม/ดิฉันจำเป็นต้องรู้อะไรบ้างก่อนเดินทางมาประเทศไทย
เจ้าหน้าที่สหประชาชาติที่ได้รับมอบหมายให้ทำงานกับหน่วยงานในไทยสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่า ข้อกำหนดเรื่องการฉีดวัคซีน และการตรวจสุขภาพได้ที่ ข้อมูลการเดินทาง
ผม/ดิฉันอยากทำงานกับสหประชาชาติในไทย ผม/ดิฉันจะหาข้อมูลที่ต้องการได้ที่ไหน
โปรดเข้าไปที่ งาน เพื่อตรวจสอบตำแหน่งงานที่ว่างในปัจจุบัน หากสนใจรายละเอียดเกี่ยวกับโอกาสการทำงานกับสหประชาชาติในไทย เยี่ยมชมเว็บไซต์ของหน่วยงานสหประชาชาติอื่นๆ
|