กิจกรรมร่วม
การริเริ่มความร่วมมือ
ทีมงานองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNCT) ร่วมมือกับรัฐบาลไทย ในกรอบภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNPAF) ปี พ.ศ. 2555-2559 มุ่งให้ความสำคัญกับการทำงานขององค์การสหประชาชาติในการเป็นภาคีความร่วมมือกับรัฐบาลไทย เพื่อให้การปรึกษาที่มีคุณภาพสูงสุดและการสนับสนุนอื่นๆแก่ประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (MIC) และเพื่อให้การสนับสนุนดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ องค์การสหประชาชาติยังมีพันธะสัญญาตามเป้าหมายดังกล่าวนี้ทั้งในระดับส่วนรวมขององค์กรและในระดับแผนงานของหน่วยงาน
กรอบภาคีความร่วมมือ UNPAF เน้นความสำคัญใน “การเข้าร่วมเป็นภาคี” เพื่อแก้ปัญหาที่รัฐบาลและองค์กรอื่นๆที่ต้องการ โดยมีหน่วยงานต่างๆในองค์การสหประชาชาติให้ความช่วยเหลือ กรอบภาคีความร่วมมือได้แก่ (1) การคุ้มครองทางสังคม (2) สิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม (3) ข้อมูลสารสนเทศเชิงยุทธศาสตร์ (4) การเปลี่ยงแปลงสภาพภูมิอากาศ (5) ความร่วมมือระหว่างประเทศ (6) เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
การคุ้มครองทางสังคม ทีมความร่วมมือการคุ้มครองทางสังคม ได้มุ่งเน้นที่การยกระดับศักยภาพของประเทศไทยในการจัดตั้งสวัสดิการสังคมในปี พ.ศ. 2560 โดยการสนับสนุนการพัฒนาด้านนโยบาย การทำงานเชิงบรรทัดฐาน/ การวิเคราะห์ การพัฒนาศักยภาพและการจัดการองค์ความรู้ ทั้งนี้ความร่วมมือหุ้นส่วนใหม่ๆจะพิจารณาตาม การคุ้มครองทางสังคมขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมวิสัยทัศน์แบบองค์รวมและสอดคล้องกันของระบบการคุ้มครองทางสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะช่วยเติมเต็มช่องว่างในการเข้าสู่บริการที่จำเป็นและการถ่ายโยงทางสังคมเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำต่างๆ ความร่วมมือหุ้นส่วนด้านการคุ้มครองทางสังคมนั้นจัดทำโดยรัฐบาลไทย (นำโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) และหน่วยงานขององค์กรสหประชาชาติอื่นๆ (นำโดยองค์การแรงงานระหว่างประเทศ) สาระสำคัญเกี่ยวกับสี่ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากภาคีความร่วมมือ ภายในปี พ.ศ. 2559
- ประชาชนมีความตระหนักและใช้สิทธิสวัสดิการสังคมของตนภายใต้ยุทธศาสตร์สวัสดิการสังคม
- รัฐบาลไทยสามารถเพิ่มมาตรการความคุ้มครองทางสัมคมถ้วนหน้าขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอ ต่อเนื่องซึ่งจะรักษาระดับให้ประชาชนดำรงชีวิตอยู่เหนือเส้นขีดความยากจนของประเทศได้ตลอดชีวิต
- แรงงานในระบบและนอกระบบรวมทั้งครอบครัวได้รับการคุ้มครองและได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดมากขึ้นผ่านเงินอุดหนุนหรือโครงการช่วยเหลือบางส่วน
- การพัฒนาและการดำเนินการด้านกรอบการปฏิบัติการและการสนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างความยั่งยืนทางการเงินและทางโครงสร้างของระบบสวัสดิการ
สิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทีมความร่วมมือสิทธิมนุษยชนและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมมีจุดประสงค์ที่จะช่วยประเทศไทยในการพัฒนาเรื่องสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ โดยปฏิบัติงานตามข้อเสนอแนะของกลไกสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอย่างครอบคลุมรอบด้าน โดยเฉพาะด้านความเสมอภาคระหว่างเพศและการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของกลุ่มผู้ด้อยโอกาส การเข้าร่วมเป็นภาคีนี้มีการประสานงานโดยกลุ่มองค์กรต่างๆของรัฐบาลไทย (นำโดยกระทรวงยุติธรรม) และหน่วยงานต่างๆ ขององค์การสหประชาชาติ (นำโดย UNOHCHR) สี่ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากภาคีความร่วมมือ ภายในปี พ.ศ. 2559
- กฎหมาย นโยบายและการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติมีความสอดคล้องกับบรรทัดฐานและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล
- ศักยภาพที่ของรัฐบาลและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของกลไกสิทธิ
- กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในประเทศไทยมีความเข้มแข็งและได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายเพิ่มมากขึ้น
- บรรทัดฐานและมาตรฐานสำคัญของความเท่าเทียมทางเพศได้รับการยอมรับและและบัญญัติในแผนนโยบายหลักรวมทั้งนำไปสู่การปฏิบัติในระดับประเทศและท้องถิ่น
ข้อมูลสารสนเทศเชิงยุทธศาสตร์ ทีมความร่วมมือข้อมูลสารสนเทศเชิงยุทธศาสตร์มีจุดประสงค์ที่จะช่วยพัฒนาด้านข้อมูลสารสนเทศเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบสถิติและสารสนเทศแห่งชาติให้สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานโยบายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ โดยความร่วมมือหุ้นส่วนจะสนับสนุนการอำนวยความสะดวกในการแบ่งปันการปฏิบัติที่ดีและบทเรียนจากประเทศต่างๆ รวมทั้งแนะนำรูปแบบที่มีประสิทธิภาพเพื่อการสร้างระบบสถิติแห่งชาติ สนับสนุนการบูรณาการฐานข้อมูล ซึ่งพัฒนาขึ้นภายใต้กระทรวงต่างๆ สนับสนุนการเสริมสร้างศักยภาพในการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นมาตรฐานทั้งในระดับชาติและภูมิภาค ระบบการบริหารจัดการและเผยแพร่ข้อมูล รวมทั้งส่งเสริมการใช้ข้อมูลเพื่อจัดทำแผนพัฒนาและนโยบายแห่งชาติเพื่อยกระดับความเป็นธรรมในสังคม ทั้งนี้ ได้มีการเตรียมการจัดตั้งความร่วมมือหุ้นส่วนโดยทีมงานของหน่วยงานรัฐบาลไทย (นำโดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) และหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติ (นำโดย UNFPA) ซึ่งข้อสรุปของผลลัพธ์หลักที่จะได้รับ ภาคีร่วมและทรัพยากรที่ต้องการอยู่ในตารางที่ 3 ข้างล่างนี้
- มีระบบสารสนเทศและสถิติแห่งชาติที่เป็นหนึ่งเดียวและเชื่อมโยงกัน
- กระทรวงที่เกี่ยวข้องสามารถวิเคราะห์และใช้ข้อมูลเพื่อจัดทำนโยบายที่อยู่บนพื้นฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายที่มุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทีมความร่วมมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตระหนักว่าองค์การสหประชาชาติมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบทั้งโดยส่วนตัวองค์การและการประสานงานร่วมมือในการสนับสนุนโครงการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยหน่วยงานที่มีศักยภาพหลายหน่วยงานซึ่งสามารถให้การสนับสนุนด้านวิชาการและงบประมาณ องค์การสหประชาชาติมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในองค์กรเอง อีกทั้งยังสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกซึ่งสามารถให้ความช่วยเหลือประเทศไทยในการวิเคราะห์ถึงการปฏิบัติที่ดี และในการใช้ประโยชน์จากอาณัติของหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญขององค์การสหประชาชาตินั้น องค์การสหประชาชาติสามารถให้การสนับสนุนประเทศไทยในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในลักษณะต่างๆ ยกระดับการประสานงานระหว่างกระทรวง ด้วยบทบาทการเชื่อมประสานในวงกว้างขององค์การจะช่วยสนับสนุนให้สามารถเข้าถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสามารถเข้าถึงสาธารณชนในวงกว้าง จากที่กล่าวมา ทีมงานร่วมของหน่วยงานรัฐบาลไทย (นำโดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) และหน่วยงานองค์การสหประชาชาติ (นำโดย UNEP) จึงได้จัดเตรียมความร่วมมือหุ้นส่วนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และได้จำแนกเป็น 3 ด้าน ที่องค์การสหประชาชาติจะให้การสนับสนุน ดังนี้
- กระทรวงที่เกี่ยวข้องหลักนำแนวทางสำคัญของการปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าสู่แผนงานในภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งแผนจังหวัด แผนโยบาย และแผนงบประมาณ
- ภาคส่วนพลัง อุตสาหกรรมและการขนส่งมีส่วนรับผิดชอบในการพัฒนาเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและเศรษฐกิจสีเขียวอย่างต่อเนื่อง
- มีการสร้างระบบสารสนเทศและองค์ความรู้ที่สอดคล้องกันและมีการพัฒนาภาคีความร่วมมือระหว่างกระทรวง กรมและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
ความร่วมมือระหว่างประเทศ ทีมความร่วมมือด้านการร่วมมือระหว่างประเทศได้ มุ่งความสำคัญไปที่การสนับสนุนประเทศไทยเพื่อให้เป็นภาคีการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ สามารถแบ่งปันและสนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนผ่านการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งในการเป็นภาคีความร่วมมือนั้น องค์การสหประชาชาติจะได้ให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลไทยและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพรวมทั้งให้บริการด้านการจัดการองค์ความรู้ โดยจะมุ่งเน้นการสนับสนุนนโยบายการประสานงานพัฒนาแห่งชาติให้มีความสอดคล้องกันและสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ระหว่างประเทศ ความร่วมมือหุ้นส่วนด้านความร่วมมือระหว่างประเทศนี้จะสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐบาลไทยทั้งหมดในการเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงในภูมิภาค ยังจะให้การสนับสนุนวัตถุประสงค์ของรัฐบาลไทยในการเข้าร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในฐานะผู้มีบทบาทระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ทีมงานร่วมของหน่วยงานจากรัฐบาลไทย (นำโดย สำนักพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ) และหน่วยงานองค์การสหประชาชาติ (นำโดย UNDP)
- ความร่วมมือที่เพิ่มมากขึ้นและมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแห่งชาติที่มีความสอดคล้องกัน
- ประสบการณ์การพัฒนาของประเทศไทยได้รับการเผยแพร่แบ่งปันอย่างมีประสิทธิภาพกับประเทศต่างๆ
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทีมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดำเนินการในฐานะเป็นเครื่องมือหลักในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่ประเทศ และเพื่อลดการพึ่งพาของเศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมหนักและการก้าวไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อยู่บนฐานองค์ความรู้และข้อมูล โดยทั้งนี้ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ยังจะสนับสนุนวัตถุประสงค์ของรัฐบาลไทยในการลดความเหลื่อมล้ำและกระตุ้นอุตสาหกรรมที่ปราศจากมลภาวะอย่างยั่งยืน การร่วมมือในครั้งนี้นำโดย สำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติของรัฐบาลไทย และ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมขององค์การสหประชาชาติ ผลที่คาดว่าจะได้รับมีดังนี้
- ปรับปรุงระบบการพัฒนาทางด้านฝีมือเพื่อจะช่วยพัฒนาด้านความสร้างสรรค์ และรับรองว่าประชากรไทยมีสังคมและเศรษฐกิจบนพื้นฐานของความรู้
- พัฒนาระบบการจัดการข้อมูลเพื่อให้ระบบสามารถประสานและเผยแพร่ข้อมูลในทุกด้านของเศรษฐกิจสร้างสรรค์
- พัฒนาสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยให้ด้านความสร้างสรรค์ได้เติบโตมากขึ้น และแผนการของประเทศร่วมถึงความสารถขององค์กรณ์ต่างๆจะถูกพัฒนา
การริเริ่มความร่วมมืออื่นๆ
องค์การสหประชาชาติยังร่วมมือกับรัฐบาลไทยในประเด็นด้านอื่นๆ เช่น เอชไอวีและโรคเอดส์ การโยกย้านถื่นฐาน เพศสภาพ และการศึกษา องค์การต่างๆในเครือองค์การสหประชาชาติได้ให้ความสนใจในปัญหา ดังนี้
เอชไอวีและเอดส์ : องค์การสหประชาชาติได้มีการดำเนินงานให้รับมือกับวิวัฒนาการการระบาดของโรคเอดส์ โดยเพ่งเล็งในด้านการป้องกัน การรักษา การดูถูก ในระดับภูมิภาค ประเด็นสนับสนุน 3 ด้านหลักและประเด็นที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้ นโยบาย การผลักดันด้านนโยบายและการวางแผนยุทธศาสตร์ ธรรมาภิบาลและการกระจายอำนาจ และศักยภาพของแผนงาน
การโยกย้ายถิ่นฐาน องค์การสหประชาชาติได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการแก้ปัญหา การโยกย้ายถิ่นฐาน อย่างไรก็ตาม ความท้าทายคือการบริหารจัดการกับการไหลเข้ามาของผู้อพยพ ให้แรงงานอพยพเหล่านี้เป็นแรงงานถูกกฎหมายรวมทั้งการให้ความคุ้มครองเพิ่มขึ้น ซึ่งมีการกำหนดประเด็นหลักขึ้นมา 3 ประเด็น ดังต่อไปนี้ การกำหนดนโยบายการโยกย้ายถิ่นฐาน การส่งเสริมศักยภาพ และความร่วมมือในภูมิภาค/อาเซียน
เพศสภาพ ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของความเท่าเทียมทางเพศและเสริมพลังอำนาจให้ผู้หญิงในฐานะที่เป็นความสำคัญเบื้องต้นในการบรรลุเป้าหมาย Millennium Development Goals ( MDGs) Plus เพื่อ “เพิ่มสัดส่วนของผู้หญิงในรัฐสภา องค์การบริหารส่วนตำบลและตำแหน่งระดับสูงในงานราชการเป็นสองเท่า” ทั้งหมด ซึ่งความเท่าเทียมทางเพศและการเสริมพลังอำนาจให้แก่ผู้หญิงยังมีความสำคัญในฐานะประเด็นเกี่ยวข้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุทธศาสตร์ “การส่งเสริมความเป็นธรรมในสังคม” การดำเนินงานในลักษณะกลไกเพื่อให้ประเด็นเพศสภาวะเป็นสาระสำคัญในทุกขั้นตอนของการดำเนินงานตามกรอบภาคีความร่วมมือ UNPAF โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญด้านเพศสภาพขององค์การสหประชาชาติและผู้เชี่ยวชาญที่มีอยู่รวมทั้งโครงสร้างแนวทางเพศสภาพในรัฐบาลไทย
การศึกษา: องค์การสหประชาชาติได้ดำเนินการร่วมมือกับรัฐบาลไทยอย่างต่อเนื่องด้านการศึกษาในลักษณะการประสานงานบนหลักการ การศึกษาที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการบรรลุเป้าหมายประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐาน องค์ความรู้ ที่มีผลต่อการลดความเหลื่อมล้ำรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การสัมมนาความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
การสัมมนาความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ริเริ่มโดยสำนักงานผู้ประสานองค์การสหประชาชาติประจำประเทศในช่วงต้นปี พ.ศ. 2552 ซึ่งดำเนินการโดยความร่วมมือกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและหน่วยงานองค์การสหประชาชาติ งานสัมมนาจะได้เปิดพื้นที่เพื่อการแลกเปลี่ยนหารือระหว่างผู้เกี่ยวข้องต่อประเด็นการพัฒนาที่สำคัญในประเทศไทย ทั้งนี้ งานสัมมนาจะได้นำภาคีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาจากภาครัฐ หน่วยงานองค์การสหประชาชาติ ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชนและเครือข่ายระหว่างประเทศร่วมในงานสัมมนาเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะด้านนโยบายและการปฏิบัติ
ปัจจุบันเราได้ทำการจัดการสัมมนาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาแล้วสิบครั้ง โดยการสัมมนาทุกครั้งได้จัดทำข้อเสนอแนะด้านนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งได้รับการพิจารณาจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการและ/หรือแปรไปสู่โครงการและแผนงานของรัฐบาล/องค์การสหประชาชาติ ทั้งนี้ โครงการสัมมนาความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทั้งสิบครั้งที่ผ่านมา ประกอบด้วย:
- วิกฤตเศรษฐกิจและผลกระทบต่อกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในประเทศไทย
- กฎหมายว่าด้วยความรุนแรงภายในครอบครัวและผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดซ นโยบายการจัดการเกี่ยวกับความรุนแรงอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางเพศภาวะสู่การปฎิบัติ
- ข้อเสนอไทยสู่การประชุมที่โคเปนเฮเก็น
- การโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อการพัฒนา: สู่นโยบายการโยกย้ายถิ่นแบบบูรณาการ
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากโคเปนเฮเกน: การดำเนินยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย
- โรคขาดสารไอโอดีน/ภาวะไอโอดีนบกพร่อง ประเด็นท้าทายด้านการพัฒนาสำหรับประเทศไทย
- การคุ้มครองเชิงสังคม: สู่การคุ้มครองถ้วนหน้าในประเทศไทย
- ก้าวสู่อนาคตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2558: การเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีและผลกระทบต่อประเทศไทย
- การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ เพื่อปวงชน: เพื่อทุกคนหรือเพื่อใคร
- การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดและการบำบัดผู้ติดยาเสพติด ทางเลือก สิทธิ หรือหน้าที่?
|