หน้าแรก | กิจกรรมร่วม

ไข้หวัดนก
นับแต่ปี 2546 มหันตภัยจากโรค
ไข้หวัดนกได้ส่งผลกระทบต่อเหล่า
สัตว์ปีกในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะที่ประเทศ
เวียดนาม ไทย ลาว กัมพูชา
อินโดนีเซีย และประเทศจีน

หน่วยงานสหประชาชาติในไทย
หน่วยงานของ UN 24 หน่วยงาน
กำลังปฎิบัติงานอยู่ในประเทศไทย
ติดต่อและค้นหาหน่วยงานต่างได้ที่นี่
ลิงค์ที่มีประโยชน์
องค์การสหประชาชาติ
ระบบ/โครงสร้างองค์การสหประชาชาติ
UN Millennium Summit
ESA
ข้อมูลสถิติ
ธนาคารโลก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
 
 
กิจกรรมร่วม
CCA & UNDAF
ไทยและวาระโลกของสหประชาชาติ
ในปี 2540 เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ นายโคฟี อันนัน ริเริ่มกระบวนการปฏิรูปที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มความเชื่อมสัมพันธ์และประสิทธิผลของระบบสหประชาชาติ จุดสำคัญที่เน้นในการปฏิรูปคือ การปรับปรุงการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและภายในระบบสหประชาชาติ พันธมิตรที่เป็นหน่วยงานรัฐ และภาคีการพัฒนาอื่นๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกันและที่นิยามร่วมกัน

องค์ประกอบสองประการที่สำคัญที่สุดของการปฏิรูปคือ

การกำหนดกรอบการวางแผนทั่วไปสำหรับ UNCT ในทุกประเทศ นั่นคือ กรอบความช่วยเหลือการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UN Development Assistance Framework – UNDAF)
การสนับสนุนที่เชื่อมสัมพันธ์กันเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาระดับชาติที่จำเป็นเร่งด่วน รวมทั้งการติดตามตรวจสอบผลสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ

กระบวนการ CCA-UNDAF: จากการประเมินประเทศร่วมกันสู่กรอบความช่วยเหลือการพัฒนา

การปฏิรูปสหประชาชาติให้ความสำคัญกับการร่วมแรงร่วมใจกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อประกันการใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์สูงสุดและการบรรลุเป้าหมายร่วมที่สำคัญ ดังนั้น ความชอบธรรมและการตระหนักถึงภาระหน้าที่ส่วนตนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวดของระบบสหประชาชาติ ในแง่ของการวางแผนระดับประเทศ เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการสำคัญที่มีองค์ประกอบสองส่วน การประเมินประเทศร่วมกัน (Common Country Assessment – CCA) เป็นกระบวนการที่ประเมินและวิเคราะห์ประเด็นการพัฒนาในปัจจุบันและที่ดำเนินต่อเนื่องในประเทศอันเกี่ยวกับการกำหนดภารกิจเร่งด่วนที่สำคัญ ความจำเป็น และความท้าทาย กระบวนการนี้เป็นวิธีวินิจฉัยว่าประเทศกำลังก้าวหน้าเช่นไร และบ่งชี้หัวข้อการพัฒนาที่สหประชาชาติสามารถหยิบยื่นการสนับสนุนที่เพิ่มคุณค่าแก่กระบวนการพัฒนาประเทศ ดังนั้น CCA จึงเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการจัดทำกรอบความช่วยเหลือการพัฒนา (UN Development Assistance Framework - UNDAF) และชี้ชัดมิติการพัฒนาที่เป็นจุดเน้นสำหรับการร่วมมือกันเตรียมทำกรอบความช่วยเหลือ ในขณะที่ CCA เป็นการประเมิน UNDAF เป็นแผนงานจริงที่ทำร่วมกันซึ่งมีพื้นฐานมาจากผลการประเมิน และเป็นแนวทางสำหรับกิจกรรมของสหประชาชาติและภาคีการพัฒนาที่ดำเนินต่อเนื่อง

UNDAF สำหรับไทย ปี 2545-2549

UNDAF สำหรับไทย ปี 2545-2549 มีแนวคิดพื้นฐานที่เรียกว่า “การส่งเสริมการลดความไม่เท่าเทียมกันและการพัฒนามนุษย์ที่ยั่งยืน” มิติการพัฒนาที่เน้นเป็นพิเศษหกด้านประกอบด้วย การลดความยากจน การคุ้มครองทางสังคมและการพัฒนาสังคม ธรรมาภิบาล การแข่งขันระหว่างประเทศ ความมั่นคงของมนุษย์ และการจัดการสิ่งแวดล้อม


ดาวน์โหลด UNPAF ปี 2545-2549

กระบวนการ CCA ใหม่และ UNDAF ปี 2550-2554

การประเมินประเทศร่วมกันของไทย ปี 2548

การประเมินประเทศร่วมกัน (CCA) เป็นเอกสารสำคัญสำหรับสหประชาชาติในไทย ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอสรุปประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับสถานการณ์การพัฒนา พิจารณาและกำหนดภารกิจสำคัญที่เกี่ยวข้องและส่วนอีกด้านหนึ่งก็พิจารณาตัดสินใจลำดับความสำคัญของภารกิจเชิงยุทธศาสตร์และทิศทางของกรอบความร่วมมือระหว่างภาคีและสหประชาชาติ พ.ศ. 2550-2554 มิติการพัฒนาหกด้านเป็นผลลัพธ์ส่วนหนึ่งจากกระบวนการ CCA ปี 2548 และคณะทำงานวิสามัญเฉพาะเรื่องมีหน้าที่ประเมินและวิเคราะห์ประเด็นการพัฒนาเหล่านี้ ซึ่งประกอบด้วย

  1. 1. การลดความยากจนและการคุ้มครองทางสังคม
  2. 2. การปกครองส่วนท้องถิ่นและการกระจายอำนาจ
  3. 3. สิ่งแวดล้อม
  4. 4. การติดเชื้อเอชไอวีและโรคเอดส์
  5. 5. การอพยพและประชากรย้ายถิ่น
  6. 6. การศึกษา

ดาวน์โหลด CCA ปี 2548 อังกฤษ/ไทย

กรอบความร่วมมือพันธมิตรแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2550-2554

กรอบความร่วมมือพันธมิตรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Partnership Framework - UNPAF) ซึ่งจัดทำขึ้นจากผลลัพธ์ของ CCA ระบุลำดับความสำคัญของภารกิจเร่งด่วนระดับชาติ UNPAF แจกแจงวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและกำหนดความร่วมมือทางวิชาการเฉพาะด้าน ซึ่งหน่วยงานของสหประชาชาติจะให้ความช่วยเหลือระหว่างปี 2550-2554 UNPAF ปี 2550-2554 มีพื้นฐานจากความร่วมมือระหว่างพันธมิตรที่ให้ผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างสหประชาชาติและรัฐบาลไทยในด้านที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์กับไทยในฐานะที่เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ด้วยแนวคิดที่ก้าวล้ำเกินกว่าความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริจาค-ผู้รับแบบดั้งเดิม ทีมประเทศของสหประชาชาติในไทยดำเนินการให้มีแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญซึ่งกันและกันเพื่อสะท้อนแนวทางยุทธศาสตร์ใหม่นี้ เอกสารนี้จึงเรียกว่ากรอบความร่วมมือพันธมิตรแห่งสหประชาชาติ (UNPAF) แทนชื่อเดิม กรอบความช่วยเหลือการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Assistance Framework – UNDAF) สหประชาชาติจะสนับสนุนการดำเนินการระดับชาติที่ช่วยทำให้ MDG กลายเป็นความจริงสำหรับทุกฝ่าย ด้วยการหยิบยื่นความช่วยเหลือให้แก่ภาคส่วนและกลุ่มที่ไม่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของประเทศ โดยอาศัยการปรับใช้แนวทางด้านสิทธิมนุษยชนในการจัดทำโครงการ UNPAF มุ่งที่จะทำให้ผู้คนที่มีความเปราะบางที่สุดในสังคมมีอำนาจมากขึ้น เพื่อเรียกร้องสิทธิในการดำรงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีของพวกเขา เป็นอิสระจากความกลัวและความอยากได้อยากมี และพัฒนาขีดความสามารถของผู้ดำรงตำแหน่งที่มีความรับผิดชอบ เพื่อให้พวกเขาสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีต่อสังคม การเข้าไปแทรกแซงแบบเจาะลึกเฉพาะด้านจะดำเนินการสำหรับความร่วมมือห้าประการดังต่อไปนี้


  1. 1. การเข้าถึงการบริการและการคุ้มครองทางสังคมที่มีคุณภาพ
  2. 2. การกระจายอำนาจและธรรมาภิบาลในระดับจังหวัด/ท้องถิ่น
  3. 3. การเข้าถึงการป้องกัน การรักษา การดูแล และการสนับสนุนผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ครบวงจร
  4. 4. การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และ ความร่วมมือระหว่างพันธมิตรทั่วโลกเพื่อการพัฒนา – ความช่วยเหลือของไทย

 

ดาวน์โหลด UNPAF 2007-2011