หน้าแรก | ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย | สถานภาพใหม่

 

หน่วยงานสหประชาชาติในไทย
หน่วยงานของ UN 24 หน่วยงาน
กำลังปฎิบัติงานอยู่ในประเทศไทย
ติดต่อและค้นหาหน่วยงานต่างได้ที่นี่
ลิงค์ที่มีประโยชน์
องค์การสหประชาชาติ
ระบบ/โครงสร้างองค์การสหประชาชาติ
UN Millennium Summit
ESA
ข้อมูลสถิติ
ธนาคารโลก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
 
 
ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย
สถานภาพใหม่
ในฐานะที่เป็นประเทศรายได้ปานกลางที่มีการเติบโตสูง ไทยมุ่งมั่นที่จะ “ก้าวกระโดด” ในแง่สถานการณ์พัฒนา เป้าหมายสูงสุดคือ การเปลี่ยนแปลงสู่สถานะ “ประเทศพัฒนาแล้วและโลกที่หนึ่งซึ่งสามารถรักษาการเติบโตแบบมีคุณภาพในระยะยาวและความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืน” ดังนั้น รัฐบาลไทยตั้งใจที่จะวางรากฐานอันมั่นคงสำหรับสถานะชาติที่อิสระและเพื่อก้าวไปสู่ฐานะผู้ให้สุทธิ (net contributor status)

การเปลี่ยนแปลงสถานภาพการพัฒนาอย่างต่อเนื่องนี้มีลักษณะสำคัญสองประการ ประการแรกคือ จุดเน้นของไทยที่ต้องการจะผันตัวเองเป็นพันธมิตรเพื่อการพัฒนากับอดีตประเทศผู้บริจาค แทนสถานะของผู้รับเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ วิกฤติการเงินในเอเชียในปี 2540 และความยากจนที่ขยายวงกว้างที่ตามมาเป็นปัจจัยที่กระตุ้นการเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารของเงินช่วยเหลือ แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ยุติการช่วยเหลือและปิดสำนักงานในไทยเมื่อปี 2546 เมื่อเร็วๆ นี้ ข้อตกลงการค้าแบบทวิภาคีที่เพิ่มขึ้นและการผ่อนผันหนี้และการช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศที่ลดน้อยลง (รวมทั้งสถานะที่ไม่เรียกร้องความช่วยเหลือใดๆ ภายหลังคลื่นยักษ์สึนามิถล่ม) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของยุทธศาสตร์นี้

ประการที่สองคือ ความปรารถนาของไทยที่จะผันตัวเองเป็นประเทศผู้บริจาค เพื่อช่วยเหลือการพัฒนาของประเทศที่ยากจนกว่า ทั้งในและนอกภูมิภาคที่ใกล้เคียงด้วยนโยบายต่างประเทศ “Forward Engagement” นโยบายแบบมองสู่โลกภายนอกนี้อาศัยหลักการของการร่วมมือกับพันธมิตรและความแข็งแกร่งจากความหลากหลาย การปรับปรุงเสถียรภาพในภูมิภาคและความสามารถในการแข่งขันภายใต้กรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค

ไทยกระตือรือร้นที่จะแบ่งปันความชำนิชำนาญด้านการพัฒนาของตน และหยิบยื่นความช่วยเหลือให้ประเทศอื่นสำหรับการพัฒนาการลดความยากจน คุณลักษณะที่เด่นชัดของนโยบายนี้คือการบริจาคเงินให้แก่ประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิในภูมิภาคและการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ไทยเป็นผู้นำในการผลักดันความคิดริเริ่มระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวกับการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ความคิดริเริ่มเหล่านี้บรรลุผลในทางปฏิบัติผ่านองค์กร กลไก และความร่วมมือ เช่น สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (APEC) ความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-Region – GMS) และความร่วมมือแม่โขง-แกงกา (Mekong-Ganga Cooperation – MGC)

อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ไม่จำกัดเฉพาะภูมิภาคนี้ นโยบายความร่วมมือภูมิภาคใต้-ใต้ของไทยนำไปสู่การดำเนินโครงการความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาสำหรับประเทศแอฟริกา โดยเฉพาะด้านการป้องกันเอชไอวี/เอดส์

ไทยเป็นประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก OECD เพียงประเทศเดียวในโลกที่จัดทำรายงาน “เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ 8 - ความร่วมมือของพันธมิตรโลกเพื่อการพัฒนา” ตามหลักเป้าหมายนี้เกี่ยวพันกับประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นผู้บริจาคซึ่งวางเป้าหมายสำหรับการเพิ่มการสนับสนุนในโครงการความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (Official Development Assistance – ODA) ส่งเสริมการเข้าถึงสินค้าและบริการจากประเทศกำลังพัฒนา และรับรองให้ประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีและยาสำคัญๆ

ความร่วมมือทางเทคนิคระหว่างประเทศที่ได้รับจากประเทศผู้บริจาคอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (Thailand International Development Cooperation Agency – TICA) ซึ่งก่อตั้งในเดือนตุลาคม 2547 โดยสืบทอดภารกิจจากกรมวิเทศสหการ (Department of Technical and Economic Cooperation – DTEC) เดิม นอกจากการจัดการความร่วมมือทางเทคนิคเพื่อการพัฒนา TICA รับผิดชอบในการประสานการช่วยเหลือทางวิชาการที่ไทยหยิบยื่นให้ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ โดยเฉลี่ย TICA ดูแลงบอุดหนุนกว่า 90 ล้านเหรียญต่อปีในโครงการความร่วมมือเป็นพันธมิตรกับไทย และให้คำแนะนำและจัดบริการที่เป็นประโยชน์ให้แก่โครงการนับร้อยและที่ปรึกษาต่างประเทศ
จุดเน้นของความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
ไทยยังคงพึ่งพาประโยชน์จากความช่วยเหลือทางเทคนิคจากประชาคมทวิภาคีและระบบสหประชาชาติในหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ยิ่งกว่านั้น จุดยืนของไทยในฐานะเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคทำให้ไทยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับความคิดริเริ่มเพื่อการพัฒนาจำนวนมาก ทั้งในฐานะเป็นพันธมิตรและพื้นที่เป้าหมาย

ประเทศผู้บริจาคหลายรายไม่มีโครงการถาวรในไทยเนื่องจากสถานะประเทศที่มีรายได้ปานกลาง อย่างไรก็ตาม ขณะที่การให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่มีวงเงินสูงลดลงอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานผู้บริจาคยังคงช่วยเหลือผ่านพื้นที่เป้าหมายที่มีการปฏิบัติการและความร่วมมือ ทุกวันนี้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนามุ่งเน้นโครงการจำเพาะและแผนงานที่ออกแบบเฉพาะพื้นที่ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความร่วมมือเป็นพันธมิตรและความคิดริเริ่มด้านความร่วมมือ ด้วยการดำเนินการดังกล่าว สัมพันธภาพระหว่างไทยและประชาคมผู้บริจาคระหว่างประเทศได้วิวัฒน์จากรูปแบบผู้บริจาค-ผู้รับเดิม

ความร่วมมือทางเทคนิคจากผู้บริจาคต่างประเทศมีลักษณะเป็นโครงการขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ความช่วยเหลือทางวิชาการ การซื้อวัสดุและอุปกรณ์ การให้ทุนวงเงินไม่สูง และโครงการคล้ายคลึงกัน โดยปกติดำเนินการผ่านนโยบายความร่วมมือระดับกระทรวงเฉพาะด้าน เช่น การขนส่งหรือเกษตรกรรม นอกจากนั้น อาจรวมถึงการจัดส่งอาสาสมัครและผู้เชี่ยวชาญ การจัดโครงการฝึกอบรมเฉพาะด้านหรือความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี

รายงานจากหน่วยงานผู้บริจาคระบุว่า มีความช่วยเหลือเฉพาะบางด้านที่ปรากฏขึ้นและได้รับความสนใจและความช่วยเหลือเป็นพิเศษระหว่างปี 2547-2548 ภาคส่วนเหล่านี้เป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ประชาคมด้านการพัฒนาสามารถเพิ่มคุณค่าให้กับการพัฒนาของไทย

ตัวอย่างของมิติการพัฒนาที่เป็นเป้าหมายสำหรับกิจกรรมของผู้บริจาค

ความร่วมมือสำหรับการศึกษา การวิจัย และการพัฒนาสถาบัน (เช่น การฝึกอบรมอาชีพ การวางผังเมือง การสนับสนุนด้านการบริหารจัดการ การวิจัยและความร่วมมือทางการศึกษา และทรัพย์สินทางปัญญา)

การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ความช่วยเหลือด้านธรรมาภิบาลและมิติทางสังคมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจับมือเป็นพันธมิตรเพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยที่แข็งแกร่ง ระบบรัฐสภา ภาครัฐ ภาคกฎหมาย และประชาสังคม

ความร่วมมือสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนและการพิทักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการการพัฒนาเขตเมือง ระบบน้ำ การจัดการพลังงาน การจัดการสิ่งปฏิกูล เทคนิคในการลดมลภาวะ ประสิทธิภาพในการดูแลระบบนิเวศของอุตสาหกรรม เป็นตัวอย่างของความร่วมมือเช่นนี้

การสนับสนุนสำหรับการผลักดันประเด็นเรื่องผู้หญิงและเพศ รวมทั้งการป้องกันการค้ามนุษย์

การรักษาเอชไอวี/เอดส์ การป้องกันและการส่งเสริม โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

ความร่วมมือเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์การเกษตรในตลาดต่างประเทศ รวมทั้งความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อการสนองตอบต่อข้อกำหนดมาตรฐานสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หรือ WTO/SPS (Sanitary and Phyto-Sanitary)

การสนับสนุนเพื่อปรับปรุงทรัพยากรบนบกและในแหล่งน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภัยธรรมชาติและเพิ่มผลิตภาพ



สึนามิเป็นข้อยกเว้นสำหรับรูปแบบของผู้บริจาคที่ยึดถือปฏิบัติ โดยไม่เปลี่ยนแปลงรากฐานของแนวโน้มที่เพิ่งเกิดขึ้นในความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ด้วยการปฏิเสธการร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ไทยรักษาสถานะอิสระต่อผู้บริจาค แต่เทียบกับประชาคมการเงินระหว่างประเทศที่แสดงความเด็ดขาดในวิกฤติการเงินปี 2540 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยก็น้อมรับความช่วยเหลือทางวิชาการสำหรับกรณีสึนามิ ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเป็นที่ยอมรับเพื่อการตอบสนองในระยะฉุกเฉิน และการดำเนินโครงการและนโยบายสำหรับระยะการฟื้นฟูที่กินเวลานานกว่า การแทรกแซงในการตอบสนองต่อสึนามิเป็นตัวอย่างของการระดมความช่วยเหลือของผู้บริจาคอย่างฉับพลันในเหตุการณ์สำคัญ การอนุเคราะห์และความช่วยเหลือทางวิชาการมีลักษณะเป็นการจัดหาวัสดุและความเชี่ยวชาญ และการให้ความช่วยเหลือหรือสินค้าที่จำเป็นที่ช่วยให้สำรองทรัพยากรของรัฐบาลไว้เพื่อกิจกรรมอื่น บทที่ 3 สรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับสึนามิของ UNCT

องค์กรพัฒนาเอกชนไทยและต่างประเทศจำนวนหนึ่งดำเนินแผนงานและโครงการถาวรและชั่วคราวในหลายพื้นที่