|
|
หน้าแรก | ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย | ประชากร |
|
หน่วยงานสหประชาชาติในไทย
หน่วยงานของ UN 24 หน่วยงาน
กำลังปฎิบัติงานอยู่ในประเทศไทย
ติดต่อและค้นหาหน่วยงานต่างได้ที่นี่
|
ลิงค์ที่มีประโยชน์
องค์การสหประชาชาติ
ระบบ/โครงสร้างองค์การสหประชาชาติ
UN Millennium Summit
ESA
ข้อมูลสถิติ
ธนาคารโลก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
|
|
|
ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย
ประชากร
ประชากรมีทั้งหมดประมาณ 64 ล้านคน ในจำนวนนี้ ราว 9.3 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 94% ของประชากรเป็นชาวพุทธที่พูดภาษาไทย และไทยก็เป็นภาษาทางการของประเทศ มีภาษาท้องถิ่นสี่ภาษาที่ใช้พูดกันในภาคกลาง เหนือ ใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ ภาษาอีสานเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาลาวมาก ในสี่จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส ติดกับชายแดนมาเลเซีย ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมและพูดภาษามาเลย์ “ปัตตานี” ในภาคเหนือมีประชาชนอาศัยอยู่ในภูเขาที่พูดภาษาชนเผ่าราว 525,000 คน
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2390 จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง มีกลุ่มผู้อพยพจากจีนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศอย่างไม่ขาดสาย และก่อร่างสร้างตัวจากอาชีพค้าขายและงานช่างฝีมือทั่วประเทศ ปัจจุบันมีประชากรเชื้อสายจีนคิดเป็น 10-15% ของประชากรทั้งหมด รัฐบาลไทยประสบความสำเร็จในการกระตุ้นให้คนจีนซึมซับวัฒนธรรมท้องถิ่น คนจีนรุ่นลูกรุ่นหลานเป็นพลเมืองไทยและพูดภาษาไทย
กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2322 เขตกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่เขตเมืองที่สำคัญมากที่สุดในประเทศ รายได้ต่อหัวในกรุงเทพฯ สูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประเทศที่ 2,200 ดอลลาร์ สรอ. (พ.ศ. 2541) มากกว่าสามเท่า จังหวัดใหญ่ที่สุดรองจากกรุงเทพฯ นครราชสีมาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประชากรเพียง 2.5 ล้านคน
จังหวัดขนาดใหญ่ นอกจากกรุงเทพฯ และนครราชสีมา ประกอบด้วยขอนแก่น อุบลราชธานี และอุดรธานีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครศรีธรรมราชและสงขลา (ที่ซึ่งหาดใหญ่ตั้งอยู่) ในภาคใต้ รวมทั้งเชียงใหม่และเชียงรายในภาคเหนือ
ศาสนา
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทหรือหินยานเป็นศาสนาประจำชาติของไทย ประมาณ 5% ของประชากรเป็นชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ตามแนวชายแดนมาเลเซียเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มศาสนาอื่นประกอบด้วยเต๋า คริสต์ ฮินดู และซิกซ์
|