หน้าแรก | ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย | ข้อมูลการเดินทาง่

 

หน่วยงานสหประชาชาติในไทย
หน่วยงานของ UN 24 หน่วยงาน
กำลังปฎิบัติงานอยู่ในประเทศไทย
ติดต่อและค้นหาหน่วยงานต่างได้ที่นี่
ลิงค์ที่มีประโยชน์
องค์การสหประชาชาติ
ระบบ/โครงสร้างองค์การสหประชาชาติ
UN Millennium Summit
ESA
ข้อมูลสถิติ
ธนาคารโลก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
 
 
ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย
ข้อมูลการเดินทาง
การขอวีซ่า
ผู้ที่เดินทางมารับตำแหน่งเป็นทางการในไทยจำเป็นต้องขอวีซ่าเข้าประเทศ ก่อนเดินทางเข้าประเทศ บุคลากรของสหประชาชาติที่เดินทางเข้ามาทำงานควรขอวีซ่าแบบเอฟ และสมาชิกครอบครัวควรขอวีซ่าแบบโอ ส่วนบุคลากรของสหประชาชาติที่เดินทางมายังไทยจากประเทศที่ไม่มีตัวแทนทางการทูตประจำอยู่ควรส่งข้อมูลต่อไปนี้ไปยังสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในกรุงเทพฯ ล่วงหน้าสองสัปดาห์ ได้แก่ ชื่อ สัญชาติ วันเกิด หมายเลขพาสปอร์ต สถานที่และวันที่ออกพาสปอร์ต เอกสารยืนยัน จุดมุ่งหมายของการเยือน ระยะเวลาที่คาดว่าจะพำนักอยู่ในไทย วันที่เดินทางมาถึงและวันที่เดินทางกลับ

ผู้มาเยือนจากบางประเทศอาจได้รับวีซ่าเข้าประเทศที่ใช้ได้ 14 วันเมื่อเดินทางมาถึง อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ากรณีใด วีซ่าแบบนี้ไม่สามารถขอต่ออายุหรือเปลี่ยนเป็นวีซ่าถาวร และผู้มาเยือนต้องเดินทางออกจากประเทศก่อนวันหมดอายุ ฉะนั้น ถ้ามีข้อสงสัยใดเกี่ยวกับระยะเวลาที่อนุญาตให้พำนักอยู่ในประเทศ ควรขอวีซ่าให้เรียบร้อยก่อนการเดินทาง หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม เข้าไปที่เว็บไซต์ของ

กระทรวงการต่างประเทศ

การยกเว้นวีซ่านักท่องเที่ยว

รายชื่อประเทศที่บรรลุข้อตกลงยกเว้นวีซ่ากับไทย

ข้อกำหนดการฉีดวัคซีน
ไม่มีข้อบังคับให้ปลูกเชื้อหรือให้วัคซีน เว้นแต่ว่าผู้มาเยือนมาจากประเทศที่มีไข้เหลืองชุก ซึ่งกรณีนี้จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันไข้เหลือง ฝ่ายบริการทางการแพทย์ของสหประชาชาติแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักและโรคคอตีบทุกสิบปี และให้วัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ผ่านทางปากหรือการฉีดทุกสามปี สำหรับพนักงานและครอบครัว แนะนำให้ขอคำปรึกษาจากฝ่ายบริการทางการแพทย์เกี่ยวกับการให้ปลูกเชื้อเพื่อป้องกันโรคตับอักเสบเอและบี โรคสมองอักเสบญี่ปุ่น การให้วัคซีนโปลิโอทางปาก การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และไข้กาฬหลังแอ่น วัคซีนสำหรับเด็กและวัคซีนสำหรับป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทั้งก่อนและหลังการรับเชื้อมีให้บริการในโรงพยาบาลทั่วไป สำหรับข้อมูลล่าสุด อ่าน “การเดินทางต่างประเทศและสุขอนามัย – ข้อกำหนดการให้วัคซีนและคำแนะนำเรื่องการดูแลสุขภาพ” ที่จัดพิมพ์ปีละครั้งโดยองค์การอนามัยโลก
การตรวจสุขภาพ
การแต่งตั้งสำหรับทุกตำแหน่งงานที่สหประชาชาติที่มีระยะเวลาอย่างน้อยหกเดือนจำเป็นต้องได้รับผลการตรวจสุขภาพที่น่าพอใจ องค์การจะแนะนำชื่อแพทย์ที่ผ่านการรับรองสำหรับการตรวจสุขภาพในแต่ละประเทศ ควรไปตรวจสุขภาพให้เร็วที่สุด เนื่องจากการจัดเตรียมการเดินทางและการดำเนินการขั้นสุดท้ายเกี่ยวกับการแต่งตั้งไม่สามารถกระทำได้หากยังไม่มีการอนุมัติผลการตรวจสุขภาพจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ของสหประชาชาติ ถ้าแพทย์ที่ระบุไม่สามารถตรวจได้ หรือถ้าไม่มีการมอบหมายแพทย์คนอื่น ควรปรึกษาแพทย์จากโรงพยาบาลท้องถิ่นที่ก่อตั้งมานานที่ตั้งอยู่ใกล้ที่สุด โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่มีวิทยาลัยการแพทย์และอุปกรณ์เอกซเรย์พร้อมสรรพ แพทย์ผู้ตรวจควรใช้ฟอร์มการแพทย์ MS.2 เมื่อได้รับผลการเอกซเรย์ทรวงอกและผลห้องแล็บที่ต้องการแล้ว กรอกข้อมูลในฟอร์มให้เรียบร้อยและส่งเป็นจดหมายอากาศลงทะเบียนไปยังเจ้าหน้าที่การแพทย์ ฝ่ายการบริการทางการแพทย์ ถ. ราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ 10200 ประเทศไทย

โปรดทราบว่าฟิล์มเอกซเรย์ต้องเป็นขนาดใหญ่สุด ไม่จำเป็นต้องส่งฟิล์มเอกซเรย์ทรวงอกมาให้ อย่างไรก็ตาม ต้องยื่นรายงานจากรังสีแพทย์พร้อมกับรายงานส่วนอื่น สหประชาชาติอนุญาตให้เบิกค่าวิเคราะห์ต่อไปนี้ การตรวจปัสสาวะ, CBC และ ESR, VRDL, น้ำตาลในเลือด, คอเลสเตอรอล, creatinine หรือ B.U.N., กรดยูริก, ไตรกลีเซอไรด์, Total Bilirubin, ATS (Asparte Aminotransferase), ALT (Alanine Aminotransferase), LDH (Lactate Dehydrogenase), GGT (Gamma-Glutamyl Transferase) และการเอกซเรย์ทรวงอก สำหรับผู้สมัครที่มีอายุเกิน 40 ปีต้องยื่นภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจด้วย และผู้สมัครที่เป็นหญิงแต่งงานแล้วต้องมีผลการทดสอบแพป

คาดว่าค่าใช้จ่ายการตรวจสุขภาพก่อนการแต่งตั้งจะสอดคล้องกับค่าบริการทางการแพทย์ที่ยอมรับทั่วไปในประเทศที่เกี่ยวข้อง สหประชาชาติจะไม่รับผิดชอบค่าธรรมเนียมสำหรับขั้นตอนทางการแพทย์ ซึ่งไม่จำเป็นสำหรับการตรวจสุขภาพก่อนการแต่งตั้ง และจะไม่รับผิดชอบค่าบริการเกินมูลค่าเทียบเท่ากับ 350 ดอลลาร์ สรอ. (400 ดอลลาร์ สรอ. สำหรับประชาคมยุโรป) พนักงานใหม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสำหรับแพทย์ผู้ตรวจ รับใบเสร็จรับเงิน และยื่นใบเสร็จจริงให้แผนกการเงินของ UNDP เพื่อขอเบิกเงินคืน