หน้าแรก | ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย | ภูมิศาสตร์

 

หน่วยงานสหประชาชาติในไทย
หน่วยงานของ UN 24 หน่วยงาน
กำลังปฎิบัติงานอยู่ในประเทศไทย
ติดต่อและค้นหาหน่วยงานต่างได้ที่นี่
ลิงค์ที่มีประโยชน์
องค์การสหประชาชาติ
ระบบ/โครงสร้างองค์การสหประชาชาติ
UN Millennium Summit
ESA
ข้อมูลสถิติ
ธนาคารโลก
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
 
 
ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย
ภูมิศาสตร์
ข้อมูลทั่วไป
ประเทศไทยมีพื้นที่ 514,000 ตร.กม. ตั้งอยู่ตรงใจกลางของคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชายแดนติดกับเมียนมาร์ (พม่า) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ไทยมีชายฝั่งยาว 2,420 กิโลเมตรด้านอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ระยะทางจากเหนือจรดใต้ 1,650 กิโลเมตร และตะวันออกจรดตะวันตก 780 กิโลเมตร ณ จุดที่กว้างที่สุด

ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ สังคม และนิเวศ ปกติไทยแบ่งเป็นสี่ภาคตามสภาพภูมิศาสตร์ ได้แก่ ภาคกลาง (รวมเขตกรุงเทพมหานคร) ซึ่งประกอบด้วยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่ทอดผ่านจากเหนือลงมาทางใต้ และหลังจากผ่านกรุงเทพฯ ก็ไหลลงอ่าวไทย ภาคกลางซึ่งเรียกกันติดปากว่า “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของไทยเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของประเทศ พื้นที่นี้มีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดรองจากเขตกรุงเทพมหานคร

ภาคเหนือมีพื้นที่เป็นภูเขาสูง และแต่เดิมเป็นพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้ทรัพยากรป่าไม้ลดลงมาก แหล่งประชากรที่หนาแน่นตั้งอยู่ในหุบเขาตะกอนน้ำแคบๆ ตามแนวแม่น้ำสี่สายที่ไหลจากเหนือลงใต้ และบรรจบกันบริเวณพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามของประเทศ ประกอบด้วยที่ราบสูงโคราชซึ่งมีแม่น้ำโขงขนาบทางทิศเหนือและตะวันออกและขอบเขาสูงชันพนมดงรัก แม่น้ำมูลและแม่น้ำชี ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง เป็นพื้นที่รับน้ำที่ระบายในภูมิภาค เนื่องจากฝนตกไม่แน่นอนและปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าและสภาพดินที่แย่กว่าส่วนอื่นของประเทศเป็นสำคัญ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงมีรายได้ต่อหัวต่ำที่สุดในประเทศ

ประมาณหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมดของไทยอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วยเนินเขาที่ทอดผ่านจากพื้นที่ชนบทไม่ไกลจากกรุงเทพฯ จรดชายแดนกัมพูชา มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าและคุณภาพดินแย่กว่าภาคกลางที่เชื่อมต่อกัน พื้นที่นี้เป็นแหล่งปลูกผลไม้ ข้าวโพด และมันสำปะหลังที่สำคัญ และชายฝั่งทะเลที่มีอยู่สร้างโอกาสมากมายสำหรับการประมงและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ปริมาณน้ำฝนที่สูงยังเหมาะกับการปลูกยางพาราบางพันธุ์

ภาคใต้ คาบสมุทรทางใต้มีปริมาณฝนตกสูงที่สุดในประเทศ เป็นพื้นที่เพาะปลูกยางพาราที่สำคัญ และมีแหล่งลานแร่ดีบุกที่ทับถมตกตะกอนเป็นพื้นที่กว้าง ป่าไม้ในภาคใต้ประสบปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าอย่างรุนแรงเทียบกับส่วนอื่นของราชอาณาจักร เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภูมิภาคนี้ประสบภาวะอุทกภัยที่รุนแรง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นปัญหาสะสมจากการตัดไม้ทำลายป่าและการกร่อนของดินที่ตามมา

ภูมิอากาศ
ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่นอกแนวเส้นทางของไต้ฝุ่น ไทยแบ่งเขตภูมิอากาศเป็นสองเขต ด้านทิศเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ และภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพฯ มีสภาพภูมิอากาศที่จำแนกเป็นฤดูกาลที่เด่นชัดสามฤดู ได้แก่ ฤดูฝน ตั้งแต่มิถุนายนถึงตุลาคม ฤดูหนาว ตั้งแต่พฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ และฤดูร้อนที่มีอุณหภูมิสูงสุดและแดดจัด ตั้งแต่มีนาคมถึงพฤษภาคม

อุณหภูมิในกรุงเทพฯ อยู่ระหว่าง 20 องศาเซลเซียสในเดือนธันวาคม และ 38 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน และมีความชื้นเฉลี่ย 82% อุณหภูมิช่วงฤดูหนาวในภาคเหนืออาจลดลงเฉลี่ย 10 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตามภาคต่างๆ อยู่ที่ 1,250 ซม. ต่อปี

ภาคใต้มีลักษณะภูมิอากาศแบบป่าร้อนชื้น และมีฝนตกตลอดปีทีเดียว แม้ว่าอาจมีภูมิอากาศจำเพาะเป็นหย่อมๆ ในบางพื้นที่ก็ตาม พื้นที่ทั่วไปมีอุณหภูมิแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 28 องศา เซลเซียสตลอดทั้งปี ปกติมีนาคมและเมษายนเป็นเดือนที่แล้งที่สุดในภาคใต้ ช่วงเวลาที่มีปริมาณน้ำฝนสูงสุดในภาคใต้แตกต่างกันตามพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศจำเพาะ